หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว
หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว

หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว

หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว (ละติน: Unus pro omnibus, omnes pro uno อังกฤษ: One for all, all for one) เป็นภาษิตละติน เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1618 ในการประชุมระหว่างกษัตริย์โบฮีเมีย, คริสตจักรคาทอลิก และคริสตจักรโปรเตสแตนต์ ซึ่งฝ่ายโปรเตสแตนต์ได้กล่าวในที่ประชุมตอนหนึ่งว่า "...ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรี เราจักต้องหนักแน่นจากหนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว...หาไม่แล้วเราก็ต้องยอมจำนน"[1] การประชุมครั้งนั้นทำให้เกิดเหตุบัญชรฆาต ณ ปรากภาษิตนี้ถูกจารึกไว้บนโดมใหญ่ในทำเนียบแห่งสหพันธ์ในปี ค.ศ. 1902 ตั้งแต่นั้นมาภาษิตนี้ก็กลายเป็นภาษิตประจำชาติของสวิสเซอร์แลนด์โดยพฤตินัย[2][3][4][5][6] ภาษิตนี้ยังปรากฏเป็นภาษาฝรั่งเศสเช่นกันว่า Un pour tous, tous pour un เป็นภาษิตประจำสามทหารเสือ วรรณกรรมซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1844[7][8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว http://www.vbs.admin.ch/internet/vbs/de/home/docum... http://www.admin.ch/ch/d/cf/alloc/19990801.html http://www.admin.ch/ch/f/cf/alloc/19990801.html http://www.admin.ch/ch/i/cf/alloc/19990801.html http://www.parlament.ch/e/text/homepage/ra-raete/r... http://www.parlament.ch/print/ra-re-binder-max-200... http://www.parlament.ch/text/ra-re-christen-yves-2... http://www.gutenberg.org/etext/1259 http://www.gutenberg.org/etext/13951